แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามที่คาดหวัง
กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. การจัดทำสาระของหลักสูตร
มีขั้นตอนดังนี้
1.1
กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
และจัดเป็นผลการเรียนรู้
การกำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคควรระบุถึงความรู้
ความสามารถของผู้เรียนซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาคนั้น
ๆ
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม
(Honour Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม
สอดคล้องกับการจัดรายวิชา
1.2
กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ใน 1.1
ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
1.3 กำหนด
เวลาและหรือจำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค ทั้งสาระการเรียนรู้ พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติม
ขึ้น ดังนี้
-
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่
4-6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
-
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาคและกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
การกำหนดจำนวนหน่วยกิตของสาระการเรียนรู้รายภาคสำหรับช่วงชั้นที่ 4
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40
ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่น
ๆ ใช้เกณฑ์การพิจารณาคือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60
ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
1.4 จัดทำคำอธิบายรายวิชา
ทำได้โดยนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามข้อ 1.1 – 1.3
นำมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วยชื่อรายวิชา จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต
มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ
แนวทางในการกำหนดชื่อรายวิชาคือ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้
ส่วนชื่อที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น
1.5 จัด ทำหน่วยการเรียนรู้ โดยนำสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้บูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการ
เรียนรู้หน่วยย่อย ๆ
เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม
หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้ เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว
ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา
ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้
อาจบูรณาการทั้งภายในสาระการเรียนรู้กลุ่มเดียวกัน เช่น
บูรณาการสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับเคมี ชีววิทยาและฟิสิกส์ เป็นต้น
และระหว่างสาระการเรียนรู้ เช่น
อาจจะบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์กับสังคมและคณิตศาสตร์ เป็นต้น
หรือบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้
หรือบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ
และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1 จัดกิจกรรมต่างๆ
เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการ โครงงาน องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้
เป็นต้น
2.2 จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ
ความสามารถ
และความต้องการของผู้เรียนและชุมชน เช่น ชมรมทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น
2.3
จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม เช่น
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น
2.4 จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ
ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
2.5
ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบ
โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน
3. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น
สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมดังกล่าวให้แก่ผู้เรียนเพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ
ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา
ครูผู้สอนต้องวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อปรับปรุงพัฒนาและส่งต่อ
ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
ร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียน
และนำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การ จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน
โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
มีขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มตั้งแต่การ
วิเคราะห์ปัญหา
การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล
การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา
การรายงานผลการเรียนรู้และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
เรื่องที่
5.3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น