วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่างๆ



ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่างๆ
              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่นๆ ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ การนำไปใช้ และการประเมินผล) ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการ กระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ (การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่นๆ) มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบ จำลองของไทเลอร์
              แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความ ผิดแผกแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้ ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม ในการพรรณนารายละเอียดทุกๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมากๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้) ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ ว่า แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปี และพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความ ว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือ นักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้ เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุง แบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
              ก่อนที่จะเลือกแบบจำลองหรือออกแบบจำลองใหม่ผู้วางแผนหลักสูตรอาจจะกำหนด เกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการปรับปรุงหลักสูตร เป็นที่ยอมรับกันว่า แบบจำลองโดยทั่วไปควรแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้
                   1. องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการถึงระยะของการวางแผนการนำไปใช้และการประเมินผล
                   2. ธรรมเนียมการปฏิบัติ แต่ไม่จำเป็นต้องตายตัว คือมีจุด เริ่มต้นและ จบ
                   3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
                   4. ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรและเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
                   5. ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
                   6. มีรูปแบบเป็นวงจรมากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
                   7. มีเส้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ
                   8. มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในจุดใดจุดหนึ่งของวงจร
                   9. มีความสอดคล้องภายในและมีตรรกะ
                   10. มีความเรียบง่ายเพียงพอที่จะเข้าใจได้และทำได้
                   11. มีการแสดงองค์ประกอบในรูปของไดอะแกรมหรือแผนภูมิ
              เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ โอลิวาได้ยอมรับว่า เป็นเกณฑ์ที่มีเหตุผลที่ปฏิบัติตามได้และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทาง โอลิวาได้เสนอแบบจำลองที่ควบคู่ไปกับข้อแนะนำข้างต้นซึ่งจะทำให้บรรลุความ มุ่งหมายสองประการ คือ
              1. เพื่อเสนอแนะระบบที่ผู้วางแผนหลักสูตรประสงค์จะปฏิบัติตาม
              2. เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบงานสำหรับการอธิบายระยะต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ทั้งแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์ และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์) ของวอคเกอร์และสกิลเบค ตลอดจนแบบจำลองของนักการศึกษาคนอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แบบจำลองเหล่านี้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ในส่วนที่แตกต่างกันคือ บางแบบจำลองมีขั้นตอนละเอียดมากและแต่ละแบบจำลองก็มีขั้นตอนที่เป็นจุดร่วม ที่เหมือนกันที่พอจะสรุปเป็นขั้นของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมได้ห้าขั้น ตอน คือ
                   1. การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                   2. การเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
                   3. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ
                   4. การประเมินผลหลักสูตร
                   5. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น