การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
โลกในยุคมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก และไม่หยุดยั้ง ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ แพร่ถึงกันทั่วโลกได้อย่าสะดวกและรวดเร็วโลกในปัจจุบันจึงเป็นโลกไร้พรมแดน การจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคัดสรรหรือนำความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆอันเป็นสากลมาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของตน สังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
การจัดการศึกษานอกจากจะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสากลแล้วยังจะต้องคงทนความเป็นท้องถิ่นของผู้เรียนไว้ด้วย ผู้เรียนจึงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข มีความรัก มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน สามารถไก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับท้องถิ่น เป็นทวิภาคีร่วมกันในการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน นอกจากนี้ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ได้เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษา ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียน ไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
2. แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดดำเนินการเพื่อให้ครู อาจารย์ และผู้เรียน ได้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดหมวดวิชา ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือในห้องเรียน ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องมัลติมีเดีย ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเตอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ ศูนย์วิทยาบริการ ศูนย์สื่อการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน สวนพฤกษศาสตร์ สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ สวนหนังสือ สวนธรรมะ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น