วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร

ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 
            ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
                        ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
            1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
            2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
            3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
            4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
            5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่ 
                         - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์ 
                         - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ 
                         - หน่วยนิเทศและประสานงาน 
                         - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน 
                         - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน
การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
            เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ ประเภท คือ
1.       เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น

              วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
              1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น
ตัวอย่าง: จังหวัดนครพนม
1. จุดเด่นของจังหวัดนครพนมที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
            1) ภาคภูมิศาสตร์ เป็นจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว และใกล้กับประเทศเวียตนาม
            2) ประวัติศาสตร์ จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มรุกขนคร" และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครพนม" แขวงคำม่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่
3) ศาสนา มีศาสนาสำคัญ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติ
            4) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่นๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู                 พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้  5) คำขวัญ ได้แก่: พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภางามตาฝั่งโขง
6ต้นไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา (Fagraea fragrans)
              2. นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใดตัวอย่างจังหวัดนครพนม
สาระการเรียนรู้
เนื้อหาท้องถิ่น เช่น
1. ภาษาไทย
ภาษา ชนเผ่า
2. คณิตศาสตร์
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ หาด เกาะ ดินฟ้าอากาศ ที่ทำกิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3. วิทยาศาสตร์

วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ

4. สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม
วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจสังคม
5. สุขศึกษา พลศึกษา
คุณค่าทางโภชนาการ
6. ศิลปะ
การทอผ้ามัดหมี่ ลายผ้าทอ
7. การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี
เน้นอาชีพของคนนครพนม การเกษตร
8. ภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ

3. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
            ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่อง ตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
            ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้าง มีผู้ทำร้อยละเท่าไร
            ค) ใช้เป็นโครงงาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
            ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
            จ) ใช้เป็นประเด็น ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น นครพนม แปลว่า มีลักษณะอย่างไร มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป


            ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น พระธาตุต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น