วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาหลักสูตร



ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
            แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
                    โอลิวาเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าแบบจำลอง (Model) ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบแนวคิดและเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร
โดยที่แบบจำลองนั้นจะแสดงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

            1. องค์ประกอบหลักของกระบวนการ
            2. การปฏิบัติที่ชัดเจน
            3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน
            4. จุดหมายเฉพาะที่แตกต่างระหว่างหลักสูตรและการสอน
            5. การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
            6. วัฎจักรความสัมพันธ์ต้องไม่แสดงแต่เพียงนัยลำดับขั้นตอน
            7. มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ
            8. จุดเริ่มต้นสามารถเริ่มที่ตำแหน่งใดก็ได้ในวงจร
            9. ความเป็นเหตุเป็นผลและความแน่นอนภายในแบบจำลอง
            10. ให้ความคิดที่เรียบง่าย
            11. มีองค์ประกอบแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบไดอะแกรมหรือแผนภาพ
 แบบจำลองของไทเลอร์
          ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย
                      1. ข้อมูลผู้เรียน    
                      2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่   
                      3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
            นำข้อมูลจาก 3 แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถาน
ศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
การพิจารณาโครงสร้างหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler, 1949 :53)
                ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
            1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
            2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
            3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
            4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
นิยาม ประสบการณ์การเรียนรู้ของไทเลอร์
           ไทเลอร์ให้นิยาม ประสบการณ์การเรียนรู้ว่าหมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้
โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ คือ
            1. พัฒนาทักษะในการคิด
            2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
            3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
            4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
            บาทามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร  มี 7 ขั้นตอนดังนี้
        ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
        ขั้นที่
2 การกำหนดวัตถุประสงค์
        ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
        ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
        ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
        ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
        ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
            เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
            1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
            2. การออกแบบหลักสูตร
            3. การนำหลักสูตรไปใช้
            4. การประเมินหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
          เป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร
            รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 12 ขั้นตอนของโอลิวา
        ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
        ขั้นที่ 2 – วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม|
        ขั้นที่ 3 กับ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
        ขั้นที่ 5 – การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
        ขั้นที่ 6 กับ 7 – การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 8 – การเลือกกลวิธีการสอน
        ขั้นที่ 9 – การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
        ขั้นที่ 10 – การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 11 – เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 12 - การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น