วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่2



1.สืบค้นจากหนังสือหรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ความหมายทฤษฎี
            ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
                 ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 504) ให้ความหมายคำว่า ทฤษฎีหมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
               แคปแลน (Kaplan, A. 1964) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีเป็นแนวทางที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลด้วยการกระทำอย่างมีประสิทธิผลในการทำความเข้าใจจากปรากฏการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งหรือปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันและทดแทนด้วยสถานการณ์ใหม่ที่ต้องการ
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
               ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน     


2.  ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากสุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ
 เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร
    โดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้
ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย                                                       
บทที่1 การพัฒนาหลักสูตร  นิยาม  แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่2 การวางแผนหลักสูตร
บทที่3 การออกแบบหลักสูตร
บทที่4 การจัดระบบหลักสูตร
บทที่5 การประเมินหลักสูตร
        ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี  การขั้นตอน  แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์  ทาบา  เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย
       มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ  การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้  หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
     จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(
curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน
      ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิด แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม  วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด
su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด
su model
     กระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ4ภาพ) โดยประกอบด้วย4ขั้นตอนดังนี้
     สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร(
Curriculum Planing) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
     สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ(
Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ
    สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดการหลักสูตร(
Curriculum Organize)ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดการหลักสูตรต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
   สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน(
Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด
SU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลอง ดังนี้
   เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆว่าโลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัมนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้(
Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน(Learner) และมุมล่างด้านขวามือ แสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม(Society)
    ในพื้นที่วงกลมยังระบุพื้นฐาน3ด้าน ประกอบด้วย ปรัชญา จิตวิทยาและสังคม ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้    1) การวางแผนหลักสูตร(Curriculum planing)
2) การออกแบบหลักสูตร (
Curriculum Design)
3) การจัดดการหลักสูตร (
Curriculum Organize)
4) การประเมินหลักสูตร (
Curriculum Evaluation)
      กล่าวโดยสรุป หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยสารประโยชน์ทางการศึกษา อันเป็นผลดีต่อผู้สนใจในการสืบค้นข้อมูลและความเข้าใจในรูปแบบจำลอง อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร จวบจนการสรุปและประเมินผล อันเป็นผลพวงที่ดีต่อความก้าวหน้าของวงการการศึกษาของไทย
อ้างอิงงจาก:
หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. แลกเปลี่ยนแนวความคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกาที่เปิดสอนในรายวิชาเอกดังกล่าว
ทฤษฎีการศึกษา (Educational theory)
   การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ทักษะและทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม  เพราะอนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และ   ทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการและเป็นระบบ
                ทฤษฎีการศึกษา   คือ   การผสมผสานทฤษฎีการศึกษาต่างๆ (Eclecticism) การประยุกต์เอาหลักการและทฤษฎีทางการศึกษาไปใช้เป็นหลักในการจัดการศึกษานั้นกระทำกันหลายวิธี โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีผสมผสานโดยเลือกสรรหลักการที่ดีของหลายทฤษฎีที่พอจะประมวลเข้าด้วยกันได้โดย ไม่ขัดแย้งกัน มาใช้เป็นแนวการจัดการศึกษา
ปรัชญาทางการศึกษา  เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
กล่าวได้ว่า ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
2544  มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน      และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้ เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
1.               เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.               เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.               ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
4.               เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
5.               เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
ปรัชญา”  มาจากคำ 2 คำ  คือ  “ปร+ชญา”  คำว่า  ปร  แปลว่า  โดนรอบ  กว้าง  ไกล  ส่วนคำว่า  ชญา  แปลว่า  ความรู้  คำว่า  ปรัชญา  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Philosophy  เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า  Philosophia   ซึ่งเป็นการสนธิคำระหว่าง Philos กับ Sophia  เมื่อรวมความแล้วจะแปลว่า  ความรักในความรู้(Love of Wisdom)   ปรัชญามีส่วนช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด  และเป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษาหรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ปรัชญาการศึกษา
เป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาแม่บทหรือปรัชญาทั่วไปที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต    หากบุคคลมีความเชื่อว่า    ความจริงของชีวิตเป็นอย่างไรปรัชญาการศึกษาจะจัดการ
ศึกษาพัฒนาคนและพัฒนาชีวิตให้เป็นไปตามนั้น  ส่วนการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษานั้นๆ ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นอย่างไร  จึงต้องศึกษาถึงที่มา  คือ  ปรัชญาด้วย    “การจัดการศึกษาโดยไม่มีปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทาง  ก็เป็นเสมือนเรือที่แล่นไปในท้องทะเลโดยไม่มีหางเสือ
ปรัชญาสากลที่มีความสำคัญและถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาของไทยประกอบด้วย 4 ปรัชญา  ได้แก่
1.               จิตนิยม(Idealism)
2.               วัตถุนิยม(Materialism) หรือประจักษ์นิยม(Realism)
3.              ประสบการณ์นิยม(Experimentalism)  หรือปฏิบัตินิยม(Pragmatism)
4.              อัตนิยม(Existentialism)
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.              จิตนิยม(Idealism)  ปรัชญาจิตนิยมเป็นปรัชญาสาขาเก่าแก่ที่สุด  ปรัชญาเมธีผู้ให้กำเนิดปรัชญาสาขานี้  คือ  พลาโต(Plato)  นักปรัชญาชาวกรีกผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 427 – 347 ก่อนคริสตกาล  ชื่อปรัชญาสาขานี้คือ  Idealism  มาจากคำว่า Idea – ism  เติมตัว l เพื่อสะดวกแก่การออกเสียง  ปรัชญาสาขานี้มีลักษณะเป็นจิตนิยม  มีความเชื่อว่า  โลกนี้เป็นโลกของจิตใจ(A World of Mind)  จิตใจนั้นอยู่เหนือวัตถุ  ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจมิใช่อยู่ที่วัตถุภายนอก   จึงให้ความสำคัญกับความสุขทางใจ   มากกว่าความสุขทางกาย ทัศนะ
ของพลาโตในด้านการศึกษา  คือ  การให้ความเจริญเติบโต  เน้นการอบรมจิตใจให้มีระเบียบวินัย  และให้รู้จักการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบ  การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาสาขานี้มีลักษณะดังนี้
–  ความเชื่อของครูตามปรัชญานี้  เชื่อว่า  “การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับการหยั่งเห็น(Insight)” ความรู้เกิดจากการคิด  หรือการทำงานของจิต  หรือประสาทสัมผัสทางใจ  ดังนั้นครูจึงมุ่งพัฒนาจิตใจของผุ้เรียนเป็นสำคัญโดยเน้นคุณธรรมความดี  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีสันติสุข
–  วิธีการสอน  จะมุ่งสอนให้ผู้เรียนแสวงหาความสุขทางใจ  มากกว่าแสวงหาวัตถุ  เน้นการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อในการเรียนการสอน  กิจกรรมการเรียนการสอนจึงเกี่ยวกับการใช้สื่อสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งได้แก่  การฟัง  และการจดจำ  ครูมักจะใช้วิธีการสอนแบบบอกเล่า  บรรยาย  ยกตัวอย่างอ้างอิงด้วยนิทาน  เพื่อเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจ  มากกว่าใช้วิธีการอื่นๆ  สอนให้จำให้คิดอย่างมีเหตุผลมากกว่าจะให้ทำการพิสูจน์หรือปฏิบัติจริง     เพราะเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม   มิใช่รูปธรรม   จึงไม่อาจมองเห็นด้วยตา  การได้มาซึ่งความรู้ต้องใช้การคิดหรือการไตร่ตรองเท่านั้น   และในบางครั้งสิ่งที่เห็นด้วยสายตามิใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไปอาจจะเป็นเพียงภาพลวงตา  การยึดติดอยู่กับภาพลวงตาหรือสิ่งที่มองเห็นด้วยสายตาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงหรือความรู้อันถูกต้อง  การเรียนการสอนจะเน้นการเรียนในห้องเรียน และห้องสมุดมากกว่าการศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา
–  ตัวผู้เรียน  ครูจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของการสอน(Teacher Center)  มากกว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการสอน  ดังนั้น  ครูจะเป็นผู้แสดง  นักเรียนเป็นผู้ดู  ครูเป็นผู้พูด  นักเรียนเป็นผู้ฟัง  เพราะเชื่อว่า  การเรียนรู้ของเด็ก  เกิดจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่  จึงนิยมบังคับให้เด็กท่องจำในสิ่งที่ครูคิดว่าดี  มีประโยชน์  ซึ่งเด็กอาจจะเบื่อเพราะมองเห็นประโยชน์  เนื่องจากสิ่งที่เรียนรู้เป็นนามธรรมและอยู่ไกลตัวเด็กเกินไป
   กล่าวโดยสรุป
  คือ  การเรียนการสอนตามแนวจิตนิยม  จะเน้นความรู้ที่ได้มาจากการฟัง(สุตมยปัญญา) และความรู้ที่ได้มาจากการคิด(จินตมนปัญญา)  ตามหลักในพุทธศาสนาหรือเน้นการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทางใจนั่นเอง
2.              วัตถุนิยม(Materialism) หรือประจักษ์นิยม(Realism) ปรัชญาวัตถุนิยมหรือประจักษ์นิยมเป็นปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีต้นเค้าความคิดมาจากปรัชญาสมัยกรีก  ผู้ที่เป็นปรัชญาเมธีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น  บิดาแห่งวัตถุนิยม คือ  แอริสโตเติล(Aristotle)  นักปรัชญาชาวกรีกผุ้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 384 – 322 ปี ก่อนคริสตกาล  ปรัชญาวัตถุนิยม  มีความเชื่อว่าโลกใบนี้เป็นโลกของวัตถุ(A World of Things)  วัตถุย่อมอยู่เหนือจิตใจ  ปรัชญาสาขานี้จึงให้ความสำคัญกับความสุขทางกายที่ได้จากวัตถุมากกว่าความสุขทางใจทัศนะ
ของแอริสโตเติลในด้านการศึกษาแตกต่างจากพลาโต  แอริสโตเติลเห็นว่าการใคร่ครวญหาเหตุผลด้วยจิตใจอย่าง เดียวไม่เพียงพอจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามธรรมชาติด้วย  เป็นการมองโลกทางด้านวัตถุและเป็นการเริ่มต้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาสาขานี้มีลักษณะดังนี้
–   ความเชื่อของครูตามปรัชญานี้  เชื่อว่า  “การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับการมองเห็น”  เพราะความรู้เกิดขึ้นจากสิ่งที่มองเห็น  หรือเกิดจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม  รับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสทางกาย  คือ  ตา  หู  จมูกลิ้น  กาย  ครูจะมุ่งสอนให้นักเรียนแสวงหาวัตถุ  เช่น  วิชาชีพต่างๆ  สอนให้รู้จักทำมาหากินมากกว่าปลูกฝังคุณธรรมความดี  ให้ความสำคัญกับวัตถุหรือการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าสิ่งอื่น  เพราะเชื่อว่า  ถ้าคนเรามีกินมีใช้ คงไม่มีใครคิดเป็นโจรเสี่ยงคุกเสี่ยงตาราง
–  วิธีการสอน  เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทางกายและสิ่งที่เป็นรูปธรรม  มากกว่านามธรรม   วิธีการสอนจึงมักจะใช้วิธีการสาธิต (Demonstation)  โดยใช้อุปกรณ์การสอนต่างๆ  เช่น  ของจริง  รูปภาพ  การศึกษานอกสถานที่  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยไม่ต้องท่องจำ  จะให้ความสำคัญกับวิชาที่มุ่งพัฒนาความเจริญทางวัตถุมากกว่ามุ่งพัฒนาจิตใจ
–   ตัวผู้เรียน  ครูยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของการสอนมากกว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการสอน  ครูจะเป็นผู้แสดง  นักเรียนเป็นผู้ดู  ใช้การบอกเล่า  บรรยายหรือการให้นักเรียนท่องจำจะมีน้อยลงแต่จะใช้การสาธิตหรือทดลองให้ดู  มีอุปกรณ์ของจริงหรือรูปภาพให้นักเรียนเห็นแต่ผู้สาธิตหรือทดลองเป็นครูมิใช่นักเรียน  ความสามารถของครูในการสาธิต  การอธิบายและการใช้อุปกรณ์การสอนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น