วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่9

1.       สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การนำหลักสูตรไปใช้



การนำหลักสูตรไปใช้

                การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร

                การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้ และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร

                ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน

สรุปจากที่มา: https://sites.google.com/site/viewnaiyana/karna-hlaksutr-pi-chi

แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้

                 โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 164-169) กล่าวถึง สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร และ ผู้บริหาร ครูใหญ่ ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้
     
                 จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย (APEID, 1977: 29) มีการทบทวนประสบการณ์ต่างของประเทศในเอเชีย เรื่องยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการที่สำคัญดังนี้
1. วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมการแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากร (มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2. จัดหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้ทำได้สะดวกเเละรวดเร็วขึ้น
3. กำหนดแนวทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน รวมเหตุผลต่างๆที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลในการปฏิบัติงาน

สรุปจากที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์.                                       มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้

1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร

- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร

- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง

- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง

- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร

- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร

 - การบริหารและบริการหลักสูตร

 -การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร

 - การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร

3. ขั้นติดตามและประเมินผล

 - การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน

 - การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร

การประเมินหลักสูตร

1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร

2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ

3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้

บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้

1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่

2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่

3.  การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

4. ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน

บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้

1.  ผู้บริหารโรงเรียน

2.  หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา

3.   ครูผู้สอน

สรุปจากที่มา: https://sites.google.com/site/viewnaiyana/karna-hlaksutr-pi-chi

นอกจากนี้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521: 140-141) อ้างจากหนังสือ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตร ได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ครูประจำชั้น และะชุมชน ในจำนวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่บทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้นๆ ดังนี้
1. เตรียมวางแผน
2. เตรียมจัดอบรม
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6. การประชาสัมพันธ์
7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดโครงการประเมินผล


ตัวอย่างการนำหลักสูตรไปใช้ในรายวิชา 462 201การพัฒนาหลักสูตร

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มที่ ภาษาเพื่อการสื่อสาร


แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง Where are you from?   จำนวน ชั่วโมง  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    ครูผู้สอน   นางสาวพิมพ์ณารา    อาวุธเทวินทร์  รหัสนักศึกษา 06550041,  นางสาวฟิรดาวส์ นามทอง รหัสนักศึกษา 06550042, นางสาววนิดา  รอดบำรุง รหัสนักศึกษา 06550047นางสาววิมลวรรณ เวชวิบูลย์ รหัสนักศึกษา 06550050, นางสาววิลาสินี สังข์ป่า รหัสนักศึกษา 06550051, นางสาวศิริพร ภาวงศ์ รหัสนักศึกษา 06550053, นางสาวอรณภัค นุชประไพ  รหัสนักศึกษา 06550060วิชาเอกภาษาอังกฤษ   
.........................................................................................................................................................................................
1.  มาตรฐานการเรียนรู้
     มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
2.   ตัวชี้วัด
      ป. 5/1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน
      ป. 5/3 ระบุ/วาดภาพ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟังหรืออ่าน
3.  สาระการเรียนรู้
      การบอกทิศทาง
4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
      4.1) ความสามารถในการสื่อสาร
      4.2) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      5.1) ใฝ่เรียนรู้
      5.2) มุ่งมั่นในการทำงาน
6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน
      ภาระงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติในการถามตอบทาง
7. กิจกรรมการเรียนรู้ (CBLใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันและบทบาทสมมติ)
ขั้นเกริ่นนำ (5 นาที)
      7.1) ผู้สอนเข้าห้องเรียนทักทายผู้เรียน และแจ้งให้ทราบว่าวันนี้จะสอนเรื่อง การบอกทิศทาง
      7.2)  ผู้สอน คนแสดงบทบาทสมมติว่าตนเองเป็นชาวต่างชาติแล้วต้องการจะไปห้องน้ำ ว่า Where is the toilet?   และให้เด็กๆ ช่วยตอบเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากแสดงเสร็จผู้สอน ถามว่าความสำคัญของการบอกทิศทางเป็นภาษาอังกฤษว่าใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพใดได้บ้าง
ขั้นสอน
      7.3) แบ่งกลุ่มกลุ่มละคน กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้หัวข้อคำศัพท์ต่างๆ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
     7.4) ผู้สอนให้เวลาทุกกลุ่ม 20 นาทีเพื่ออภิปรายเกี่ยวหัวข้อที่ได้กับสมาชิกในกลุ่มตนเองพร้อมกันเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้โดยจะมีครูผู้สอน 4 คน      ประจำแต่ละหัวข้อเพื่อแนะนำผู้เรียน
     7.5) ผู้สอนหลัก ให้นักเรียนแต่ละคนในแต่ละกลุ่มนับ1-5 จากนั้นให้นักเรียนจับกลุ่มตามเลขที่ได้อยู่ด้วยกัน ครูแจกใบงาน และอภิปรายหัวข้อของตนให้กับ          สมาชิกในกลุ่ม โดยใช้เวลา 20 นาที
     7.6) ผู้สอนแสดงแผนที่และฝึกถามตอบกับเด็กนักเรียนแต่ละกลุ่มเพื่อทดสอบความเข้าใจ
     7.7) ผู้สอนให้ผู้เรียนกลับกลุ่มเดิม
     7.8) ผู้สอนให้แผนที่บริเวณชุมชนใกล้โรงเรียนจะมีหลายเส้นทางที่สามารถเดินทางได้ และให้เวลาเตรียมตัวในการแสดงบทบาทสมมติในการถามตอบ 15นาที หลังจากนั้นให้แสดงบทบาทสมมติกลุ่มละ นาทีโดยเส้นทางกลุ่มละ 5 นาที
ขั้นสรุป
     7.9) ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนโหวตกลุ่มที่พูดดีที่สุดโดยห้ามโหวตกลุ่มตัวเองพร้อมให้เหตุผล
     7.10) ตัดสินผลคะแนนจากผู้เรียนและแจกรางวัลให้แก่กลุ่มผู้ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด
     7.11) ผู้สอนกล่าวอำลาผู้เรียน
8.สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
     8.1) ใบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
     8.2) แผนที่

9. การวัดและประเมินผล 
                                                             เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ภาระงาน
                                                                  7-8 คะแนน หมายถึง ดีมาก
                                                                  5-6 คะแนน หมายถึง ดี
                                                                  3-4 คะแนน หมายถึง พอใช้

                                                                  0-2 คะแนน หมายถึง ปรับปรุง

เกณฑ์การตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน    6 – 8    หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ระดับคะแนน    0  5     หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การตัดสินสมรรถนะของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน   7 – 9    หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ระดับคะแนน    0  6     หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

          บันทึกผลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

……………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………                                                                                  
                                                                            ลงชื่อ ………………………………………….. ผู้สอน
                                                                                ( ………………….................................................)

2.       ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การจัดหลักสูตร การประเมินหลักสูตร”
การประเมินผลหลักสูตร

            การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลายๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน  และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง

ความหมายของการประเมินผลหลักสูตร
        การประเมินผล (Evoluation) เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเพื่อนำมาวิเคราะห์  สรุปผลให้ผู้บริหารหรือผู้วินิจฉัยสั่งการ การเลือกดำเนินงานให้เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้น  อาจกล่าวได้ว่าการประเมินผลเป็นการวางแผน  การติดสินใจ  การพัฒนาและความเหมาะสมของโครงการ (เสนีย์  พิทักษ์อรรณพ, 2524, หน้า 42)  หรือการประเมินผล  หมายถึงกระบวนการตัดสินคุณค่าหรือความน่าพึงพอใจในลักษณะพฤติกรรมหรือการดำเนินงานต่างๆ  (สงบ  ลักษณะ, 2524, หน้า 37)
            สำหรับการประเมินผลหลักสูตรนั้น  เป็นการประเมินผลที่ย่อยมาจากการประเมินผลการศึกษา  ประเมินผลที่ตัวหลักสูตร  แต่ความหมายของหลักสูตรนั้นกินความหมายที่กว้างมาก คือ โปรแกรมการศึกษาใดๆ ที่กำหนดเค้าโครงการเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยวิชาการต่างๆ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์  การเรียนการสอนของแต่ละรายวิชานั้นด้วย 
            การประเมินผลหลักสูตรจะต้องประเมินทั้งหมด  หรือทุกส่วนที่กล่าวมา
            สำหรับความหมายของการประเมินผลหลักสูตร คือ
            สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และคณะ กล่าวว่า การประเมินผลหลักสูตร  คือ กระบวนการในการหาข้อมูล เก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางเลือกที่ดีกว่าของเดิม  (ทัศนา  แขมมณี , 2520, หน้า 278)
            ครอนบาค (Cronbach) กล่าวว่า  การประเมินผลหลักสูตร หมายถึง การรวบรวมข้อมูล และการทำข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในเรื่องของโปรแกรมหลักสูตรการศึกษา (ทัศนา แขมมณี, 2520, หน้า 278)
            อรสา  ปราชญ์นคร (2523) กล่าวว่า  การประเมินหลักสูตร  คือ  การหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในความมุ่งหมายหรือไม่  และอะไรเป็นสาเหตุ  การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานละเอียดต้องการผู้ที่มีความรู้ทั้งในเรื่องของหลักสูตรและการประเมินผล
            การประเมินผลหลักสูตร  เป็นการพิจารณาคุณค่าของหลักสูตร  โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล  และใช้ข้อมูลจากการวัดในแง่ต่างๆ ของสิ่งที่ประเมิน  เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน  และสรุปว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณค่าเป็นอย่างไร  มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด  หรือได้รับผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือมีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป  และนำเสนอผู้บริหาร  ผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการดำเนินต่อไป  หรือ การประเมินผลหลักสูตร  หมายถึง  กระบวนการในการศึกษาส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตร  ได้แก่  หลักสูตร  จุดมุ่งหมาย  โครงสร้าง  จุดประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหา  กิจกรรม  สื่อการเรียนการสอน  วิธีสอนและการวัดผลจะสัมพันธ์กันหรือไม่
            การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานใหญ่และมีขอบเขตกว้างขวาง  ผู้ประเมินจำเป็นต้องวางโครงการไว้ล่วงหน้าว่ามีกระบวนการอย่างไร  มีวิธีการอย่างไร  ดังนั้นโครงการประเมินผลหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ  และเมื่อนำไปใช้ประเมินผลแล้ว  ควรมีการประเมินผลโดยการประเมินผลของหลักสูตรนั้นๆ ด้วยว่า  มีความสมบูรณ์รอบคอบเพียงใด

ระบบการประเมินผลหลักสูตร
        ระบบการประเมินหลักสูตร  คือ ขั้นสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตร  การประเมินหลักสูตร คือ กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างผลการใช้หลักสูตรที่วัดได้กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรว่าการปฏิบัติจริงนั้น  ผลได้ใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

จุดประสงค์ของการประเมินผลหลักสูตร
1.      เพื่อดูว่าหลักสูตร  เมื่อนำไปปฏิบัติจริงได้ผลเพียงใด  บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
2.      เพื่อหาทางปรับปรุงหลักสูตร  ถ้าพบสิ่งบกพร่อง
3.      เพื่อหาข้อดีข้อเสียในวิธีการจัดประสบการณ์การเรียน
4.      เพื่อช่วยการตัดสินใจของฝ่ายบริหารว่าควรจะใช้หลักสูตรต่อไปหรือไม่
การประเมินผลหลักสูตร  อาจแบ่งเป็นระบบการประเมินย่อยได้ ดังนี้  คือ การประเมิน
เอกสารหลักสูตร  การประเมินระบบหลักสูตร  การประเมินระบบการบริหารหลักสูตร             

การประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน  การประเมินการสอนของผู้สอนและการประเมินการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา (มาเรียม  นิลพันธุ์, 2543)
            1.  การประเมินเอกสารหลักสูตร คือ การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างหลักการ  โครงสร้าง  วัตถุประสงค์   เนื้อหาสาระ  การจัดประสบการณ์การเรียนและการประเมินผลว่ามี
มากน้อยเพียงใด  ภาษาที่ใช้สามารถสื่อสารได้ตรงกันหรือไม่  ข้อกำหนดใช้หลักสูตรมีความชัดเจนไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติใช่หรือไม่
            2.  การประเมินระบบหลักสูตร คือ การตรวจสอบดูว่า หลักสูตรได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเที่ยงตรงหรือไม่  หลักสูตรที่วางไว้เหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่  วิธีการสอนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่  เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เหมาะสมหรือไม่  อุปกรณ์การสอนหรือเอกสารประกอบการสอนเหมาะสมหรือไม่
            3.  การประเมินระบบการบริหารหลักสูตร  คือ  การประเมินระบบการบริหารที่จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อการใช้หลักสูตร  ปัจจัยการบริหารที่ควรพิจารณาประเมิน  คือ  โครงสร้างและระบบของสถาบัน  อาคารสถานที่  บรรยากาศทางสังคม  สถาบัน  การติดต่อสื่อสาร  ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถาบัน  เวลา  คุณสมบัติของผู้สอนและผู้เรียน  รวมทั้งงบประมาณที่ใช้
            4.  การประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน  คือ  การประเมินคุณภาพและปริมาณความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้เรียนตามเกณฑ์  และมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
            5.  การประเมินการสอนของผู้สอน คือ  การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสอนว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนหรือไม่  องค์ประกอบที่ควรศึกษา ได้แก่  แผนการสอน  จุดประสงค์  เนื้อหาวิชา  สื่อการเรียน  การประเมินผล  รวมทั้งบุคลิกภาพ  ความรู้ ความสามารถ  ความสัมพันธ์กับผู้เรียน  และการสร้างบรรยากาศในการเรียน
            6.  การประเมินการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา  การศึกษาสถานภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น  ความรู้  ความสามารถ  เจตคติต่อวิชาชีพ  ความสามารถปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพงานที่ปรากฏในปัจจุบัน  ความสามารถในการแก้ปัญหา  และการปรับตัว  สิ่งที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ  มีความสนใจที่จะศึกษาต่อและมีความคาดหวังที่จะแสวงหาความก้าวหน้าในวิชาชีพอย่างไร
            ในการประเมินหลักสูตร ถ้ามีการวางแผนการประเมินไว้ตั้งแต่แรกเริ่มร่างหลักสูตร       จะเป็นข้อบ่งชี้ให้ทราบถึงประสิทธิภาพของหลักสูตรที่จัดได้ว่า  มีส่วนใดดีที่ควรคงไว้ ส่วนใดไม่เหมาะสมและควรพิจารณาปรับปรุง  หรืออาจยกเลิกไป  ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความเป็นมาและแนวคิดของการประเมินผลหลักสูตร
        เรื่องการประเมินผลหลักสูตรได้รับความสนใจในวงการศึกษามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 เป็น
ต้นมา  ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph  Tyler) ได้เป็นผู้วางรากฐานให้นับตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1930 โดยไทเลอร์(Tyler ) ได้เป็นผู้ริเริ่มให้คำนิยามการศึกษาว่า  การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม                   (อรสา   ปราชญ์นคร, 2523, หน้า 134 )  ดังนั้น การประเมินผลหลักสูตรจึงมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงเป็นจุดสำคัญ  ซึ่งหมายความว่า  จะมีการวัดผลโดยเอาจุดมุ่งหมายเป็นที่ตั้ง  และหาดูว่าได้มีพฤติกรรมอะไรเปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้หรือไม่  ตามแนวคิดนี้ภาพพจน์ของการจัดหลักสูตรก็คือ  ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องมีการจัดวางจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นอย่างไร  จะจัดประสบการณ์การสอนที่สามารถจะให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ  บทบาทของการประเมินผลหลักสูตรที่จะช่วยชี้ให้เห็นจริงว่า  ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายจริงหรือไม่ อย่างไร
            ต่อมา  สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และคณะได้ให้แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรว่า การประเมินผลหลักสูตรคือ  กระบวนการในการหาข้อมูล เก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการติดสินหาทางเลือกอื่นที่ดีกว่าของเดิม   (อรสา   ปราชญ์นคร, 2523, หน้า 134 )   และในปี ค.ศ.1963  ครอนบาค (Cronbach)  ได้เขียนคำนิยามของการประเมินผลหลักสูตรไว้ในวารสาร    Teacher College  Record  ว่า     การประเมินผลหลักสูตรหมายถึง        การรวบรวมข้อมูล  และการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในโปรแกรมหรือหลักสูตรการศึกษา จะเห็นว่าแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และ ครอนบาค (Cronbach) นี้ตรงกัน ในวงการศึกษานับว่าเป็นแนวความคิดใหม่ในการประเมินหลักสูตรการศึกษาต่างๆ

ระยะการประเมินผลหลักสูตร
        การประเมินผลหลักสูตร  โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ
            ระยะที่ 1 ประเมินผลหลักสูตรก่อนโครงการ  คือ การประเมินผลหลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ (Project  Analysis) เป็นการประเมินผลหลักสูตร  เมื่อสร้างเสร็จแล้วผู้สร้างประเมินดูว่าหรือไม่เพียงใด มีข้อที่ควรแก้ไขปรับปรุงอะไรบ้าง อาจให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือวิจัยดูก็ได้
            ระยะที่ 2 ประเมินผลหลักสูตรในขณะที่ดำเนินการ  ว่าหลักสูตรที่ทำขึ้นนั้นนำไปทดลองแล้วได้ผลเพียงใด เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่อง อุปสรรค  จะได้แก้ไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป
            ระยะที่ 3  ประเมินผลเมื่อจบโครงการ  หรือประเมินผลเมื่อประกาศใช้หลักสูตรแล้ว  เป็นการประเมินผลหลักสูตรที่ใช้อยู่เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
            ในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีข้อควรระวังอยู่  2  ประการด้วยกันคือ
            1.  กฎข้อที่ 1    ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาเดียวกัน   หรือเป็นพวกเดียวกัน  ผลการประเมินจะออกมาว่า ดี เป็นส่วนใหญ่
            2.  กฎข้อที่ 2   ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาต่างกัน  หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้าม ผลการประเมินจะออกมาว่า ไม่ดี เป็นส่วนใหญ่  (โกวิท  ประวาลพฤกษ์, 2523, หน้า 13)
            ดังนั้น  การประเมินผลหลักสูตรที่จะไม่ให้เกิดความลำเอียงดังกล่าว  จะทำได้โดยประเมินโดยยึดที่จุดมุ่งหมาย  เป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นประการสำคัญ
ขอบเขตของการประเมินผลหลักสูตร
            ในความเข้าใจของครูผู้สอนส่วนมากคิดว่าการสอบ  คือการประเมินผลหลักสูตร  ถ้าเด็กสอบได้ดีมักคิดว่าหลักสูตรดี  หรือในทางตรงกันข้าม  ถ้าเด็กสอบตกมากมักคิดว่าหลักสูตรไม่ดี ที่ถูกต้องแล้วการสอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประเมินผลหลักสูตรเท่านั้น แต่การประเมินผลเพื่อตัดสินสัมฤทธิผลของหลักสูตรนั้นกำหนดขอบเขตได้ดังนี้
            1.  ประเมินความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ (Goals and Objectives) เป็นการพิจารณาดูว่าเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคมนั้นหรือไม่เพียงใด  สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ได้หรือไม่  ไม่ยาก หรือไม่ง่ายจนเกินไป
            2.  ประเมินโครงการทั้งหมดของโรงเรียน (Program of Schooling)  เป็นการพิจารณาว่าโรงเรียนจัดโครงการเรียนการสอนใดบ้าง  สอดคล้องกับหลักการและจุดมุ่งหมายหรือไม่ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ตลอดจนการวัดและการประเมินผลการเรียนของนักเรียน  ตลอดจนการบริหารทางด้านหลักสูตร  ตารางสอน  ห้องสมุด  เป็นต้น
3.  ประเมินโครงการเฉพาะส่วน (Specific  Segment  of  the Education Program) เป็นการพิจารณาโครงการทำงานแต่ละโครงการว่าได้รับผลลัพธ์เป็นที่ยอมรับหรือคัดค้าน และในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของการทำงานตามโครงการ
4.  ประเมินการเรียนการสอน (Instuction) เป็นการพิจารณาการเรียนการสอน  ตลอดจนการนำสื่อการสอนใหม่ๆ มาใช้  ผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จในด้านการเรียน  การนำความรู้ออกไปประกอบอาชีพได้
5.  ประเมินโครงการการประเมินผล (Evaluation  Program)  เป็นการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของโครงการ  ผลการดำเนินตามโครงการ  ประสบการณ์ การตอบสนองจากชุมชนและสังคมของแรงต้านทานและผลกระทบที่มีต่อสังคม
6. ประเมินโครงการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รวมถึงการสอบด้วย  ผลการสอบของนักเรียนเป็นอย่างไร จะดีหรือเลวนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การสอนของครู ความบกพร่องทางร่างกายของผู้เรียน  กรณีทางบ้าน  ความยากง่ายของแบบเรียน เป็นต้น
7.  ประเมินโครงการของผู้เรียนที่จบออกไปว่าหางานทำได้หรือไม่ ทำแล้วเกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมมากน้อยเพียงใด  สังคมยอมรับในผลผลิตที่ออกไปจากสถาบันนั้นหรือไม่
ขั้นตอนของการประเมินผลหลักสูตร
            เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Planning Curriculum  for Modern  School  ว่า การประเมินผลหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ มาประกอบการประเมินผลหลักสูตร  ขั้นตอนการประเมินผลหลักสูตรมี  5  ประการ คือ
            1.  ประเมินผลจุดมุ่งหมายในระดับต่างๆ ได้แก่ จุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชา  จุดมุ่งหมายในการสอน  เพื่อดูว่าจุดมุ่งหมายเหล่านี้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวผู้เรียนและสภาพสิ่งแวดล้อมหรือไม่เพียงใด  ภาษาที่ใช้ยุ่งยากแก่การสื่อสาร  และการกำหนดจุดมุ่งหมายไว้สูงเกินไปยากแก่การปฏิบัติหรือไม่
            2.  ประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด  ทั้งนี้เป็นการประเมินผลโครงการต่างๆ ที่จะช่วยให้หลักสูตรบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เช่น  การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรใหม่  การดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียน  การจัดสรรงบประมาณ  การแนะแนว  ห้องสมุด  โรงฝึกงาน  การดำเนินงานของโครงการต่างๆ ได้กระทำไปมากน้อยแค่ไหน  และโครงการที่ได้กระทำไปมีประสิทธิภาพหรือไม่
            3.  ประเมินผลการเลือกเนื้อหาสาระของวิชา  การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนและสื่อการเรียนว่าได้จัดและดำเนินไปเหมาะสมมากน้อยเพียงใด และการจัดประสบการณ์การเรียนได้สัดส่วนกับครบทุกด้านและมีความเหมาะสมหรือไม่
            4.  ประเมินผลการสอน  การประเมินผลขั้นนี้  ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการนำหลักสูตรมาปรับใช้ในห้องเรียน  การประเมินผลระดับนี้  ถ้าเพื่อดูว่าการสอนของครูดำเนินไปโดยยึดถือหลักสูตรเป็นหลักหรือไม่  การสอนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปตามจุดหมายของหลักสูตรหรือไม่  เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนก็คือ  ความสำเร็จในการสอนของครูเพื่อดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
            5.  ประเมินผลโครงการของหลักสูตร  ถึงแม้ว่าการประเมินผลแต่ละโครงการได้วางแผนและขั้นตอนของการประเมินผลไว้อย่างดีแล้วก็ตาม  แต่การดำเนินงานอาจมีข้อผิดพลาดได้  ซึ่งจะเป็นผลทำให้การประเมินผลเพื่อสรุปผลของหลักสูตรผิดพลาดไปได้  ฉะนั้นจึงต้องมีการประเมินผลโครงการเพื่อตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
หลักในการประเมินผลหลักสูตร
1.      ต้องปฏิบัติสืบเนื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา
2.      ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า  จะประเมินอะไรให้แน่นอน
3.      การหาข้อมูล เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผลหลักสูตร
4.      ควรพิจารณาข้อมูลที่จะนำมากำหนดเกณฑ์หรือกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล
อย่างรอบคอบ
5.      การวิเคราะห์ผลการประเมิน ต้องทำอย่างระมัดระวัง  โดยให้มีความเที่ยงตรง
เพียงพอ เพื่อนำผลวิเคราะห์เสนอกรรมการพิจารณา
6.      ควรพิจารณาผลการประเมินผลหลักสูตรนี้  เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้
เหมาะสมต่อไป
แนวทางการประเมินผลมีอะไรบ้าง
นวทางของการประเมินผล มีประเด็นที่น่าศึกษาอยู่   10  ประเด็นด้วยกัน และเราจะต้องใช้วิธีการประเมินต่างๆ กันไปแต่ละประเด็น  ประเด็นทั้ง  10  ที่ต้องศึกษา คือ
1.  จุดหมาย  หลักการ  ของหลักสูตร  คือดูว่าหลักการที่บัญญัติไว้เวลานำไปสู่ภาคปฏิบัติเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  เช่น  หลักการเกี่ยวกับการถ่ายโอนผลการเรียน  หลักการ
ให้เด็กเลือกเรียนวิชาเลือกตามอัธยาศัย  หลักการจัดโครงการเรียนให้มีวิชาเลือกหลายวิชา         สิ่งเหล่านี้ต้องนำจุดหมายและหลักการมาเป็นแม่บท  และดูว่าโรงเรียนทำอะไรบ้าง  ทำได้ตามนี้หรือไม่
            2.  โครงสร้างของหลักสูตร  คือดูว่าโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนดไปนั้นเมื่อแตกออกไปเป็นโครงการเรียนในการปฏิบัตินั้นสอดคล้องกันดีหรือไม่  การจัดโครงการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนว่าโรงเรียนมีวิธีการอย่างไร  จัดด้วยเหตุผลอะไร  จัดได้สอดคล้องกับความคาดหวังของหลักสูตรหรือไม่  กุญแจที่สำคัญของการประเมินผลหลักสูตรอยู่ที่ว่า  โรงเรียนจัดอย่างไร  ด้วยเหตุผลอะไร  ทำไมจึงจัดได้  ทำไมจึงจัดไม่ได้  มีปัจจัยอะไรส่งผลให้เป็นเช่นนี้
            3.  สาระสำคัญ  และเนื้อหาตามหลักสูตรที่ถ่ายทอดรายละเอียดเป็นสื่อการเรียน  รายวิชาต่างๆ ที่กำหนดไปแล้วนั้นเหมาะกับวัยของเด็กเพียงไร  ครูมีพื้นฐานความรู้ที่จะสอนได้ตามนั้นหรือไม่  หลายวิชาหลักสูตรอาจเขียนไว้ค่อนข้างหรู  แต่หาคนสอนไม่ได้  มันก็หยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่ความผิดของใคร  แต่เป็นความไม่พร้อมหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น ระบบการผลิตครู เนื้อหาสาระของหลักสูตรที่กำหนดเป็นรายวิชาต่างๆ ผู้ประเมินผลจะต้องใช้เวลามาก และต้องการความสัดทัดเฉพาะบุคคล
            4.  วิธีสอนวิธีเรียน  เรื่องนี้แม้จะเป็นหน้าที่โดยตรงของระบบโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และกรมเจ้าสังกัด  แต่ก็สัมพันธ์กับหลักสูตรในแง่ที่ว่า  หลักสูตรใหม่แต่สอนวิธีเก่าก็ไม่มีความหมายอะไร  ตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์  เป็นเรื่องที่คนเข้าถึงเหตุเข้าถึงผล  ไม่ให้เชื่ออะไรที่เลือนราง  การที่จะเข้าถึงสิ่งนั้นได้ต้องจับต้อง  ต้องพิสูจน์กันอย่างจริงจัง แต่ปรากฏว่าโรงเรียนหลายแห่งบอกว่ายากยังไม่พร้อม หรือสู้การสอนแบบท่องจำไม่ได้  ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วทัศนคติทางวิทยาศาสตร์จะไม่เกิดขึ้น 
            5.  ระบบงานวิชาการของโรงเรียน ต้องดูว่าการวางโปรแกรมให้นักเรียนนั้นใครเป็นผู้วางรวมถึงการบันทึกวิชาการต่างๆ ลงไปในระเบียนของเด็ก  รายวิชาที่จัดนั้นผสมผสานกันดีไหม หรือไม่ประสานกันเลย  ระบบงานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งผลให้คณะครูที่สอนตามสายต่างๆ ทำงานประสานกันดี
            6.  ครูอาจารย์ที่สอนตามหลักสูตรใหม่ได้หรือไม่  วิชาดนตรียังขาดครูสอน  วิชาชีพก็เช่นเดียวกัน  จึงไม่สามารถเปิดสอนได้
            7.  สื่อการเรียน  หนังสือเรียน  คู่มือ  หนังสืออ่านประกอบ  หนังสืออ้างอิงมีหรือไม่  มีแล้วแต่ยังผิดพลาดหรือไม่  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องสำรวจและพิจารณา
            8.  การวัดผลทั้งหมดรวมทั้งการจัดระบบวัดผล  ต้องพิจารณาในเรื่องวัดผลนั้นว่าโรงเรียนทำถูกหรือผิดประการใด  โดยเอาระเบียบเป็นตัวยืนยันว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ เมื่อระเบียบไม่เหมาะสมควรเอามาแก้ไขเปลี่ยนแปลง
            9.  การจัดกิจกรรมในโรงเรียน  กิจกรรมเป็นส่วนสำคัญของระบบหลักสูตรเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้กำหนดเป็นเนื้อหาวิชา แต่มีระเบียบกิจกรรม เช่น จะต้องเรียนลูกเสือ  โรงเรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่  โรงเรียนจัดแนะแนวในลักษณะใด  สอดคล้องกับความจำเป็นหรือไม่
            10. แหล่งวิทยาการ  สถานประกอบการ  โรงเรียนเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือไม่  เห็นทางปฏิบัติมากน้อยเพียงใด  เรื่องนี้ทางกระทรวงได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบแล้วได้เผยแพร่ให้โรงเรียนเข้าใจสาระสำคัญหรือไม่
ข้อพึงระลึกในการประเมินผลหลักสูตร
1.      การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปอย่างชัดเจนว่าจะประเมินอะไรให้
แน่นอน
2.      การหาข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  สำหรับการประเมินผลหลักสูตร
3.      การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดเกณฑ์และกำหนดเครื่องมือในการประเมินจะต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบ
            4.  การวิเคราะห์ผลการประเมินจะต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีความเที่ยงตรง  เพื่อที่จะนำผลการวิเคราะห์นั้นไปเสนอคณะกรรมการพิจารณา
            5.  พิจารณาจากการประเมินผลหลักสูตร  เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตร
            1.  ช่วยให้ความมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายในการสอนกระจ่างขึ้น  เพราะถ้าคลุมเครือก็วัดไม่ได้  ต้องตีความหมายให้กระจ่างเสียก่อนจึงประเมินได้
            2.  ช่วยส่งเสริมการสอนในโรงเรียนให้ดีขึ้น  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะมีลักษณะเป็นผลสะท้อนไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรและการสอน
            3.  ส่งเสริมการเรียนของนักเรียน  เมื่อความมุ่งหมายกระจ่างแล้ว  นักเรียนก็สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าตนเองประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  เป็นการให้แรงจูงใจแก่นักเรียน
            4.  ช่วยในการแนะแนวของครู  ข้อมูลต่างๆ ที่ครูรวบรวมได้เกี่ยวกับนักเรียนจะเป็นประโยชน์ต่อการแนะแนวไปในตัวด้วย
            5.  ช่วยในด้านการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชนไปในตัวด้วย  ประโยชน์ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการรายงานผลการเรียนของนักเรียนไปสู่ผู้ปกครอง ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันช่วยให้เกิดประโยชน์ข้อนี้น้อยมาก
บทสรุป
            การประเมินผลหลักสูตร  เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่ง  เพราะจะได้รู้ถึงคุณค่าของหลักสูตร  ตัดสินว่าคุณภาพของหลักสูตรมีคุณภาพดีเพียงใด  ผลิตผลของหลักสูตร คือ ผู้เรียนเมื่อจบออกไปแล้วเป็นอย่างไร  การประเมินผลหลักสูตรนั้น ประเมินตั้งแต่ก่อนนำหลักสูตรไปใช้  ขณะที่ทดลองใช้  และเมื่อประกาศใช้แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลจะทำให้การประเมินผลหลักสูตร  เป็นระบบ  ระเบียบ และเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์  ประเมินได้ตามจุดที่ต้องการ  และการประเมินผลหลักสูตรควรจะประเมินผลทั้งหมดของหลักสูตร เช่น จุดมุ่งหมาย เนื้อหา  การเรียน  การสอน  สื่อการเรียนการสอน กิจกรรม  การวัดผล  เป็นต้น  การประเมินผลจะส่งผลไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินว่า  หลักสูตรนั้นสมควรที่จะแก้ไขปรับปรุงเพียงใด  มีปัญหาอะไรบ้างในการใช้หลักสูตรนั้น จะได้ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดี และสนองความต้องการต่างๆ ของผู้เรียน  สังคม  เศรษฐกิจ  การปกครอง  จิตวิทยาการเรียนรู้ การประเมินผลหลักสูตรควรจะดำเนินการและกระทำอยู่สม่ำเสมอ  เพื่อการปรับปรุง  พัฒนา  หลักสูตร ให้มีคุณภาพดีที่สุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น