วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่ 7

1.       สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ซึ่งหลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน (Standards-Based Curricullum)  อาจสรุปเป็นหัวใจ ได้ดังนี้



เริ่มจากวิสัยทัศน์ :

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ



6 มาจาก หลักการ 6 ประการ

5 มาจาก จุดหมาย 5 ประการ

5 มาจาก สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  5 ประการ

8 มาจาก คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

8 มาจาก มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระ (Strans) 67 มาตรฐานตัวบ่งชี้

3 มาจาก กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  3 ประการ

วิสัยทัศน์

                         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

หลักการมี 3 ประการดังนี้

              1.   เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ

3.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้

5.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 

จุดหมาย

             มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข   มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   ได้กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้

1.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต

3.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

4.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 5 ประการ ดังนี้

                 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

                 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น    ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

                 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้

1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

2.  ซื่อสัตย์สุจริต

3.  มีวินัย

4. ใฝ่เรียนรู้

5. อยู่อย่างพอเพียง

6.  มุ่งมั่นในการทำงาน

7.  รักความเป็นไทย

8.  มีจิตสาธารณะ

มาตรฐานการเรียนรู้

                การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา ได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

1.      ภาษาไทย

2.    คณิตศาสตร์

3.     วิทยาศาสตร์

4.     สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

5.     สุขศึกษาและพลศึกษา

6.      ศิลปะ

7.     การงานอาชีพและเทคโนโลยี

8.     ภาษาต่างประเทศ

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม   ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น               ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้                                 ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

1. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ          (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3)         

2 . ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)

 หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้

ว 1.1 ป. 1/2

ป.1 /2        ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2

1 .1            สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1   

ว                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ต 2.2 ม.4 -6/ 3

ม.4 -6/3      ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ 3

2 .3            สาระที่ 2  มาตรฐานข้อที่ 2


ต                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

2.       แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้ เกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่สนใจ

ประกาศโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑
*****************************************
            ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ   ได้มีคำสั่งให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  ๒๕๕๑  ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ  ที่ สพฐ. ๒๙๓/๒๕๕๑  ลงวันที่  ๑๑ กรกฎาคม  ๒๕๕๑  เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ              ความเปลี่ยนแปลง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคมไทย ให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอัน  มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เป็นไปตามเจตนารมณ์มาตรา ๘๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ประกอบกับการประกาศขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนใหม่  นั้น
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ พุทธศักราช ๒๕๕๓  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑
ทั้งนี้ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  เมื่อวันที่  ๑๓  เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  จึงประกาศให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                                                ประกาศ  ณ  วันที่  ๑๓  เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ 

               
                (นายทวีวัฒน์  กันทะบังหาร)                                                  (นางสมพร  จองปิหย่า)
 ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน                        ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ
               โรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ

ความนำ

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพบริบท และ ความต้องการของท้องถิ่น (สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๒)
จากการวิจัย และติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรในช่วงระยะ ๖ ปีที่ผ่านมา (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, ๒๕๔๖ ก.๒๕๔๖ ข., ๒๕๔๘ ก., ๒๕๔๘ ข.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๔๗สำนักผู้ตรวจราชการและติดตามประเมินผล๒๕๔๘; สุวิมล    ว่องวาณิช และนงลักษณ์  วิรัชชัย, ๒๕๔๗; Nutravong, ๒๐๐๒; Kittisunthorn, ๒๐๐๓) พบว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ มีจุดดีหลายประการ เช่น ช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง กับความต้องการของท้องถิ่น และมีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาและความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลายประการทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตร สู่การปฏิบัติ และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น  การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน รวมทั้งปัญหาคุณภาพ ของผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจากนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ( พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔)ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพคนในสังคมไทยให้มีคุณธรรม และมีความรอบรู้อย่างเท่าทัน  ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา  อารมณ์ และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคมฐานความรู้ได้อย่างมั่นคง  แนวการพัฒนาคนดังกล่าวมุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ  พร้อมทั้ง สมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน (สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ๒๕๔๙)  ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่โลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งส่งเสริมผู้เรียนมีคุณธรรม รักความเป็นไทย ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์  สร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ (กระทรวงศึกษาธิการ๒๕๕๑) 
จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ที่ผ่านมา  ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  ๑๐ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ ๒๑ จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต  การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐาน   การเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ  นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้นรวมทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓ ฉบับนี้  จัดทำขึ้นโดยใช้กรอบและทิศทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  กรอบสาระท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่  เขต ๒  และจุดเน้นของสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเห็นผลคาดหวังที่ต้องการใน   การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจนตลอดแนว  ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหา การเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา  ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษาจะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา       ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน    
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓  จะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้  ก็ด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานต้นสังกัด ชุมชน ครอบครัว และบุคลากรร่วมมือกันทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผน ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐาน                         การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

วิสัยทัศน์
                   ภายในปี  พ.ศ. ๒๕๕๗  โรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ มุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  คือเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทยและท้องถิ่น  มีใจรักสิ่งแวดล้อม  น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสาธารณะ มีความรู้ด้านการอ่าน การเขียน คิดวิเคราะห์  การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์   สังคม และสติปัญญาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓ กำหนดสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  ๒๕๕๑  มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
๕ ประการ ดังนี้
                ๑ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
                ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ    ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                ๔ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้   การสื่อสาร  การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และ         มีคุณธรรม                                                                                                                                                                                                                           คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ  พุทธศักราช ๒๕๕๓ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา อยู่อย่างพอเพียง และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการเรียนรู้ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
๑. รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
มีจิตสาธารณะ
มาตรฐานการเรียนรู้
                การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแพะทุ่งเจริญ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑  จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
๑. ภาษาไทย
๒. คณิตศาสตร์
๓. วิทยาศาสตร์
๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๕. สุขศึกษาและพลศึกษา
๖. ศิลปะ
๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๘. ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม   และค่านิยมที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญใน การขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึง การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด
 สาระการเรียนรู้

                สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้  โดยแบ่งเป็น ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 
๑. ภาษาไทย ความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ความชื่นชม การเห็นคุณค่า ภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ 
๒. คณิตศาสตร์การนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา การดำเนินชีวิต และศึกษาต่อ การมีเหตุมีผล มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์
๓. วิทยาศาสตร์ การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล คิดวิเคราะห์  คิดสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์
๔. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม : การอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข การเป็นพลเมืองดี ศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา การเห็นคุณค่าของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ความรักชาติ และภูมิใจในความเป็นไทย
๕. สุขศึกษาและพลศึกษา : ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัย ของตนเอง และผู้อื่น การป้องกันและปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอย่างถูกวิธี และทักษะในการดำเนินชีวิต
๖. ศิลปะ ความรู้และทักษะในการคิดริเริ่ม จินตนาการ สร้างสรรค์งานศิลปะ สุนทรียภาพ และการเห็นคุณค่าทางศิลปะ
๗. การงานอาชีพและเทคโนโลยี : ความรู้ ทักษะและเจตคติในการทำงาน การจัดการ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยี
๘. ภาษาต่างประเทศ ความรู้ ทักษะ และเจตคติและวัฒนธรรมการใช้ภาษาต่างประเทศ ใน ารสื่อสาร การแสวงหาความรู้ และการประกอบอาชีพ
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา(เดิม)ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 2 ปรับแต่ยังไม่ลง
กลุ่มสาระการเรียนรู้/ กิจกรรม
เวลาเรียน
ระดับประถมศึกษา
ป. ๑
ป. ๒
ป. ๓
ป. ๔
ป. ๕
ป. ๖
 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย
๒๐๐
๒๐๐
๒๐๐
๑๖๐
๑๖๐
๑๖๐
คณิตศาสตร์
๒๐๐
๒๐๐
๒๐๐
๑๖๐
๑๖๐
๑๖๐
วิทยาศาสตร์
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
o ประวัติศาสตร์
(๔๐)
(๔๐)
(๔๐)
(๔๐)
(๔๐)
(๔๐)
o ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม       






o หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม                                  
(๘๐)
(๘๐)
(๘๐)
(๘๐)
(๘๐)
(๘๐)
o เศรษฐศาสตร์






o ภูมิศาสตร์






สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
ศิลปะ
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๔๐
๔๐
๔๐
๘๐
๘๐
๘๐
ภาษาต่างประเทศ
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
๘๐
รวมเวลาเรียน (พื้นฐาน)
๘๘๐
๘๘๐
๘๘๐
๘๔๐
๘๔๐
๘๔๐
  รายวิชาเพิ่มเติม
ทักษะการคิดวิเคราะห์
-
-
-
๔๐
๔๐
๔๐
 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

o กิจกรรมแนะแนว
๓๐
๓๐
๓๐
๓๐
๓๐
๓๐
o กิจกรรมนักเรียน






 ลูกเสือ เนตรนารี
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
-  ชมรมตามความสนใจ
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
๔๐
o กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
๑๐
๑๐
๑๐
๑๐
๑๐
รวมเวลา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
๑๒๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง
๑,๐๐๐ ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๘๐
ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย
๒๐๐
ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์
๒๐๐
ว ๑๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๑๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๑๒๐๑ ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๑๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๑๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๔๐
อ ๑๑๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
-
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

             
โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒

รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๘๐
ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย
๒๐๐
ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์
๒๐๐
ว ๑๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๒๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๒๒๐๑ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๒๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๔๐
อ ๑๒๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
๔๐
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓ 
รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๘๐
ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย
๒๐๐
ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์
๒๐๐
ว ๑๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๓๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๓๒๐๑ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๓๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๔๐
อ ๑๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
-
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

        
โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔
รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๔๐
ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย
๑๖๐
ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์
๑๖๐
ว ๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๔๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๔๒๐๑ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๔๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๔๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๘๐
อ ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
๔๐
ท ๑๔๒๐๑ ทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์
๔๐
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี/
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

          
โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕

รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๔๐
ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย
๑๖๐
ค ๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์
๑๖๐
ว ๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๕๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๕๒๐๑ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๕๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๕๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๘๐
อ ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
๔๐
ท ๑๕๒๐๑ ทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์
๔๐
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี/
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

       
โครงสร้างหลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖
รายวิชา/กิจกรรม
เวลาเรียน(ชม./ปี)
รายวิชาพื้นฐาน
๘๔๐
ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย
๑๖๐
ค ๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์
๑๖๐
ว ๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์
๘๐
ส ๑๖๑๐๑ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๘๐
ส ๑๖๒๐๑ประวัติศาสตร์
๔๐
พ ๑๖๑๐๑ สุขศึกษาและพลศึกษา
๘๐
ศ ๑๖๑๐๑ ศิลปะ
๘๐
ง ๑๖๑๐๑ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
๘๐
อ ๑๖๑๐๑ ภาษาอังกฤษ
๘๐
รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติม
๔๐
ท ๑๖๒๐๑ ทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์
๔๐
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๑๒๐
 กิจกรรมแนะแนว
๓๐
 กิจกรรมนักเรียน

-                   ลูกเสือ/เนตรนารี/
๔๐
-                   ชมรมตามความสนใจ
๔๐
 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
๑๐
รวมเวลาเรียน
๑,๐๐๐  ชั่วโมง

               







กล่องข้อความ: สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา 
















คำอธิบายรายวิชา
ภาษาไทย












คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา  ท ๑๑๑๐๑      กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาไทย    ชั้น  ประถมศึกษาปีที่ ๑
เวลา   ๒๔๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน  -  หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒
คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจองและข้อความสั้นๆ   เข้าใจความหมายของคำและข้อความ  ตอบคำถาม  เล่าเรื่องย่อ  และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน  อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่านเข้าใจความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน  และมีมารยาทในการอ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ  และมีมารยาทในการเขียน
                    ฟังคำแนะนำ  คำสั่งง่ายๆ  และปฏิบัติตามได้ถูกต้อง  ตอบคำถาม  เล่าเรื่อง  รวมทั้งพูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์  และมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  รวมทั้งเลขไทยได้  เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ  และต่อคำคล้องจองง่ายๆ
                    เข้าใจและบอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก  รวมทั้งท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ     

                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท  ๑.๑   ป. ๑/๑  ๘                      ท  ๒.๑  ป. ๑/๑  ๓                          ท  ๓.๑  ป. ๑/๑ - ๕
                    ท  ๔.๑  ป. ๑/๑  ๔                      ท  ๕.๑  ป. ๑/๑  ๒                          รวม   ๒๒  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา  ท.  ๑๒๑๐๑         กลุ่มสาระการเรียนรู้.ภาษาไทย        ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๒
เวลา  ๒๔๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน   -   หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒
คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง  ข้อความ  และบทร้อยกรองง่ายๆ  เข้าใจความหมายของคำ  ข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  บอกใจความสำคัญ  แสดงความคิดเห็น  คาดคะเนเหตุการณ์  ปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำจากเรื่องที่อ่าน  อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่อง ที่อ่าน 
และมีมารยาทในการอ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์  และเขียนเรื่องตามจินตนาการ  รวมทั้งมีมารยาทในการเขียน
                    ฟังคำแนะนำ  คำสั่ง  และปฏิบัติตามได้ถูกต้อง  เล่าเรื่อง  บอกใจความสำคัญ  ตั้งคำถาม 
ตอบคำถาม  พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์  รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    เข้าใจและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และเลขไทยได้ถูกต้อง  เขียนสะกดคำ  บอกความหมายของคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ถูกต้อง  บอกลักษณะคำคล้องจอง  เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
                    เข้าใจและสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือฟังวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น  ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า
ตามความสนใจได้

                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท. ๑.๑   ป. ๒/๑  ๘      ท. ๒.๑  ป.  ๒/๑  ๔         ท. ๓.๑  ป. ๒/๑  ๗
                    ท. ๔.๑  ป. ๒/๑  - ๕     ท. ๕.๑  ป. ๒/๑  ๓          รวม   ๒๗  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา   ท  ๑๓๑๐๑          กลุ่มสาระการเรียนรู้.ภาษาไทย        ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๓
เวลา  ๒๔๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน   -   หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒
คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงคำ  ข้อความ  เรื่องสั้นๆ  และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้องคล่องแคล่ว 
เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถาม  ตอบคำถามเชิงเหตุผล  ลำดับเหตุการณ์  คาดคะเนเหตุการณ์  สรุปความรู้  และข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน  ปฏิบัติตามคำสั่ง  คำอธิบายจากเรื่อง
ที่อ่าน  เข้าใจความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ  แผนที่และแผนภูมิ  อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ  และมีมารยาท ในการอ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนบรรยาย  บันทึกประจำวัน  เขียนจดหมายลาครู 
เขียนเรื่องตามจินตนาการ  และมีมารยาทในการเขียน
                    เล่ารายละเอียดและบอกสาระสำคัญ  ตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  รวมทั้งพูดแสดงความคิด  ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสาร  และพูดแนะนำหรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  และมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  ความแตกต่างของคำและพยางค์  หน้าที่ของคำ
ในประโยค  มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ  แต่งประโยคง่ายๆ 
แต่งคำคล้องจอง  แต่งคำขวัญ  และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
                    เข้าใจและสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  แสดงความคิดเห็นจากวรรณกรรมที่อ่าน  รู้จักเพลงพื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็ก  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น  ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรอง   ที่มีคุณค่าตามความสนใจได้

                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท. ๑.๑   ป. ๓/๑  ๙       ท. ๒.๑  ป.  ๓/๑  ๖          ท. ๓.๑  ป. ๓/๑  ๖
                    ท. ๔.๑  ป. ๓/๑  - ๗     ท. ๕.๑  ป. ๓/๑  ๔          รวม  ๓๒  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา  ท ๑๔๑๐๑            กลุ่มสาระการเรียนรู้.ภาษาไทย        ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔
เวลา  ๑๖๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน   -   หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒
คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  อธิบายความหมายของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่าน  แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง  คาดคะเนเหตุการณ์  จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้  ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน  และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด  เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ  ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม  ใช้แผนภาพโครงเรื่อง  และแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนย่อความ  จดหมาย  กรอกถึงเพื่อนและบิดามารดา  เขียนบันทึกและเขียนรายงาน  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน
                    พูดแสดงความรู้  ความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู  ตั้งคำถาม  ตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟังและดู  จำแนกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู  พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจากการฟัง  การดู  การสนทนา  รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพย  และสุภาษิต  รู้และเข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  ชนิดของประโยค  แต่งประโยค  ใช้พจนานุกรม  แต่งบทร้อยกรองประเภท  กลอนสี่  คำขวัญ  และเปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่นได้
                    เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้


                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท. ๑.๑   ป. ๔/๑  ๘      ท. ๒.๑  ป.  ๔/๑  ๘         ท. ๓.๑  ป. ๔/๑  ๖
                    ท. ๔.๑  ป. ๔/๑  - ๗     ท. ๕.๑  ป. ๔/๑  ๔          รวม  ๓๓  ตัวชี้วัด


คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา  ท.  ๑๕๑๐๑          กลุ่มสาระการเรียนรู้.ภาษาไทย        ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๕
เวลา  ๑๖๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน   -   หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒

คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่าน  เข้าใจคำแนะนำ  คำอธิบายในคู่มือต่างๆ  แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น  จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้  ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปใช้ในการดำเนินชีวิต  มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่านและเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด  เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ  ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม  ใช้แผนภาพโครงเรื่อง  และแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนย่อความ  จดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ  เขียนแสดงความรู้สึกกรอกแบบรายการต่างๆ  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน
                    พูดแสดงความรู้  ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่อยย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู  ตั้งคำถาม  ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล  พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆ  อย่างชัดเจน พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจากการฟัง  การดู  การสนทนา รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพย  และสุภาษิต  รู้และเข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  ชนิดของประโยค  คำภาษาถิ่นและคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม  แต่งประโยค  แต่งบทร้อยกรองประเภท  กาพย์ยานี ๑๑
                    เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้

                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท. ๑.๑   ป. ๕/๑  ๘      ท. ๒.๑  ป.  ๕/๑  ๙          ท. ๓.๑  ป. ๕/๑  ๕
                    ท. ๔.๑  ป. ๕/๑  - ๗     ท. ๕.๑  ป. ๕/๑  ๔          รวม  ๓๓  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา  ท.  ๑๖๑๐๑           กลุ่มสาระการเรียนรู้.ภาษาไทย        ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๖
เวลา  ๑๖๐  ชั่วโมง / ปี
จำนวน   -   หน่วยกิต    ภาคเรียนที่  ๑ - ๒

คำอธิบายรายวิชา
                    อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะ  อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่าน  เข้าใจคำแนะนำ  คำอธิบายในคู่มือต่างๆ  แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น  จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้  ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปใช้ในการดำเนินชีวิต  มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่านและเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
                    คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด  เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ  ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม  ใช้แผนภาพโครงเรื่อง  และแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนย่อความ  จดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ  เขียนแสดงความรู้สึกกรอกแบบรายการต่างๆ  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน
                    พูดแสดงความรู้  ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่อยย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู  ตั้งคำถาม  ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล  พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆ  อย่างชัดเจน พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจากการฟัง  การดู  การสนทนา รวมทั้งมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
                    สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพย  และสุภาษิต  รู้และเข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  ชนิดของประโยค  คำภาษาถิ่นและคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม  แต่งประโยค  แต่งบทร้อยกรองประเภท  กาพย์ยานี ๑๑
                    เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้

                    รหัสตัวชี้วัด
                    ท. ๑.๑   ป. ๖/๑  ๙        ท. ๒.๑  ป.  ๖/๑  ๙          ท. ๓.๑  ป. ๖/๑  ๖
                    ท. ๔.๑  ป. ๖/๑  - ๖      ท. ๕.๑  ป. ๖/๑  ๔           รวม  ๓๔  ตัวชี้วัด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น