วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แนวคิดการประเมินหลักสูตร


การประเมินหลักสูตร


            การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการค้นหาข้อมูล เก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินหาทางเลือกที่ดีกว่าเดิม พิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตร โดยใช้ผลจากการวัดในแง่มุมต่างๆ ของสิ่งที่ประเมินเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกัน


แนวคิดการประเมินหลักสูตร


            การประเมินหลักสูตรเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1444 เมื่อมีการทำสัญญาระหว่างผู้ปกครองเมืองTreviso กับครูใหญ่ของโรงเรียน เพื่อประเมินค่าจ้างของครูใหญ่ตามระดับการได้รับความรู้ของนักเรียน โดยวัดจากแบบวัดที่สร้างขึ้น ในศตวรรษที่ 18 มีการใช้ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของหลักสูตรเป็นตัวกำหนดการให้ผลตอบแทน (รางวัลหรือโทษ) จะรู้จักกันดรในรูปแบบของ “Payment By Results” (PBR) โดยมีข้อตกลงว่า นักเรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ได้ถ้าได้รับการสอนอย่างเหมาะสม การประเมินหลักสูตรในช่วงนี้ใช้แบบทดสอบวัดผลลัพธ์ของหลักสูตร คือ ผลการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นการทดสอบที่เรียกว่า “High Stake Test” ซึ่งมีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน


            ช่วงหลังศตวรรษที่ 19 ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้นำแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ โดยมองว่าผลลัพธ์ที่สำคัญของการศึกษา คือ การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนที่ต้องสามารถวัดเป็นปริมาณได้ และจากปริมาณที่วัดได้จะบอกให้ทราบถึงความรู้ที่แต่ละคนได้รับจากหลักสูตร ซึ่งแนวคิดนี้ได้มองข้ามสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียน เช่น กระบวรการถ่ายทอดความรู้ และระบบต่างๆ ภายในโรงเรียน สนใจเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กเท่านั้น ในช่วงนี้เองแนวคิดพฤติกรรมนิยม ปฏิบัติการนิยม และการทดสอบได้กลายเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของหลักสูตร


            หลังสงครามโลกครั้งที่ มีการขยายตัวทางการศึกษา การประเมินที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย คือ การประเมินตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ของ ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph Tyler) เป็นผู้ที่ริเริ่มให้คำนิยามของการศึกษาว่า “การศึกษาคือการเปลี่ยนพฤติกรรม” ดังนั้นการประเมินผลหลักสูตรจึงมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงเป็นจุดสำคัญ ตัวอย่างการประเมินหลักสูตรที่จัดได้ว่าเป็นงานชิ้นสำคัญ คือ การประเมิน“Eight Year Study” ของไทเลอร์ ที่มีการกำหนดจุดประสงค์ของการพัฒนาประสบการณ์เรียนรู้ เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามแบบของบลูม (Bloom) และนำไปใช้ในการประเมินว่าหลักสูตรให้ความสำคัญกับจุดประสงค์นั้นเพียงใด ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับว่ามีเหตุผลและวัดได้


            โดยสรุปแนวคิดการประเมินหลักสูตร คือ


  1. การประเมินตามจุดประสงค์ (Goal – based) เป็นการตัดสินใจตามจุดประสงค์ของการศึกษา หรือโปรแกรมการฝึกอบรม
  2. การประเมินที่ไม่ยึดจุดประสงค์ (Goal – free) การตัดสินใจที่มีความเป็นอิสระจากผลที่เกิดจากโอกาสทางการศึกษาหรือโปรแกรม
  3. การประเมินตามหน้าที่ (Responsive) เป็นการเปรียบเทียบความมุ่งมั่นในการสอนและผลที่เกิดขึ้นจริงที่สังเกตได้
  4. การประเมินที่มุ่งการตัดสินใจ (The decision – making) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือโปรแกรมการฝึกอบรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจยุติหรือดำเนินการต่อไป
  5. การประเมินเพื่อการรับรอง (The accreditation) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการรับรองเกี่ยวกับกระบวนการของการพัฒนาวิชาชีพในการจัดการศึกษาหรือโปรแกรมการฝึกอบรม


ความหมายของการประเมินหลักสูตร


            คำจำกัดความของการประเมินผลที่ยอมรับกันกว้างขวาง ซึ่งปรากฏในงานเขียนของ Stake (1967), Provus (1969) and Stufflebeam and others (1971) คือ แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรว่า “การประเมินผลหลักสูตร คือ กระบวนการในการกำหนดและเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการตัดสินหาทางเลือกอื่นที่ดีกว่าเดิม”


            ครอนบัค (Cronbach) เขียนนิยามของการประเมินผลหลักสูตรในวารสาร Teachers College Record ว่า “การประเมินผลตามหลักสูตร หมายถึง การรวบรวมข้อมูลและการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในเรื่องของโปรแกรมหรือหลักสูตรการศึกษา”


            ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunkins) นิยามคำว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง กระบวนการหรือชุดกระบวนการที่บุคคลจัดทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อตัดสินใจยอมรมับ เปลี่ยนแปลง หรือขจัดบางสิ่งบางอย่างในหลักสูตร โดยทั่วไปหรือรายละเอียดของตำราการศึกษา


การวางแผนพัฒนาการศึกษาและบทบาทการประเมินผล


  1. แผนพัฒนาการศึกษาและการประเมินผล


  • ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ซึ่งมาจากปัญหาและความต้องการทางการศึกษา
  • ขั้นกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา
  • ขั้นกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนา
  • ขั้นการจัดทำแผนและโครงการ
  • ขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ
  • ขั้นการประเมินแผนเพื่อปรับแผน และการจัดแผนใหม่
      2.     บทบาทการประเมินผล

บลูม และคณะ ได้แจงให้เห็นบทบาทของการประเมินผลที่จะนำมาใช้ในการศึกษา (อินทร์ ศรีคุณ 2522, น. 27 – 28)


  • การประเมินผลเป็นวิธีการที่จะได้รับหลักฐานและนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
  • การประเมินผลให้หลักฐานที่ครอบคลุมกว้างกว่าการทดสอบที่ใช้กันตามปกติในห้องเรียน
  • การประเมินผลเป็นเครื่องช่วยขยายความสำคัญของเป้าหมายและจุดประสงค์ของการศึกษา เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนได้เจริญงอกงามไปตามทางที่ปรารถนานั้น
  • การประเมินผลเป็นระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งใช้ในการวินิจฉัยคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด ถ้าไม่มีประสิทธิภาพจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรก่อนจะสายเกินไป
  • การประเมินผลเป็นเครื่องมือของการศึกษา โดยใช้พิจารณาประสิทธิภาพทางเลือกของกระบวนการจัดการศึกษาว่าทางใดที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่11

วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใยตวรรษที่21
1.       สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร                                                                                         
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร

  - ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น

  - เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร

  - ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น

  - การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน

แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร

  - เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ  ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน

  - สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น  มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่

  - เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์

  - เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง

  - ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร

  - เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น


  - เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย

2.       ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช. วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21

ตื่นตัวกันมากทั้งวงการศึกษาไทย จะทนอยู่เฉยๆได้อย่างไรกัน.....เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การศึกษาเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ที่อ่านในเล่ม"วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" ของท่าน ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช

           ดังนั้นจึงอยากคาดหวังไว้กับการจัดการศึกษาในอุ้งมือครู และผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักและรีบลงมือ เพื่อใน คศ. 2020 คนไทยจะพบกับความสงบร่มเย็น
ขอนำเอาสาระใจความที่สำคัญในเล่มนี้มาเพียงคำนิยม และคำนำ ของท่านมาแชร์อ่านกันอีกครั้งค่ะ
 อ่านคำนิยมของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ท่านกล่าวไว้ว่า...
การศึกษาของไทยถึงทางตันแล้ว เมื่อถึงทางตันไม่เพียงแต่ไปต่อไม่ได้ลำพังการหยุดนิ่งอยู่กับที่แปลว่า ก้าวถอยหลัง นานาประเทศจะแซงหน้าเราขึ้นไป แล้วเยาวชนของเราก็จะอยู่ข้างหลัง ในโลกไร้พรมแดนที่วัดกันด้วยความสามารถในการทำงาน มิใช่วามสามารถในการท่องจำ ก็พอทำนายได้ว่า เยาวชนของเราก็จะได้งานที่ใช้ความสามารถต่ำกว่านานาประเทศความสามารถในการทำงานมิได้ขึ้นกับรู้มากหรือรู้น้อย แต่ขึ้นกับทักษะการเรียนรู้ พร้อมเรียนรู้ ใฝ่เรียนรู้ อยากเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้เรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากทุกสถานที่ มีทักษะชีวิตที่ดีปรับตัวได้ทุกครั้งเมื่อพบอุปสรรค ยืดหยุ่นตัวเองได้ทุกรูปแบบเมื่อพบปัญหาชีวิต นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่แห่งศตวรรษที่ ๒๑เด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องการทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑เพื่อจะดำรงชีวิตได้ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการศึกษาไทยปัจจุบันไม่ได้ให้และให้ไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร  เพียงเท่านี้ ...ครูทุกท่านอ่านแล้วจะรู้สึกเหมือนดิฉันไหมว่า " ท่านได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของครูที่จะต้องรีบขวนขวาย หาความรู้ เพิ่มทักษะกระบวนการสอนที่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน
  ดิฉันอ่านแต่คำนิยมของท่าน  ของ ผอ. วิเชียร ไชยบัง โรงเรียนลำปลายมาศ  กล่าวว่า
เมื่อองค์ความรู้ของโลกขยายขอบเขตเพิ่มพูนขึ้นแบบเท่าทวีคูณกอปรกับประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความรู้ เหล่านั้นได้ในเวลาเพียงลัดมือเดียว ทำให้ใครหลายคนเชื่อว่า “ครู” กลายเป็นอาชีพที่อาจจะหมดความจำเป็นลงในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ผมกลับไม่เชื่ออย่างนั้น ยิ่งทั้งสองปัจจัยข้างต้นก้าวล่วงไปมากเท่าใด ความจำเป็นที่ต้องมีครูยิ่งมากขึ้น อย่างน้อยก็ด้วยสองเหตุผลนี้ อย่างแรก ความรู้ที่มีอยู่อันมากมายนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ตามความจำเป็นหรือความต้องการได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะเหตุปัจจัยและบริบทของเหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ความรู้สำหรับแก้ปัญหาของวันพรุ่งนี้จะไม่ใช่ชุดความรู้ที่มีอยู่ เราจึงจำเป็นต้องมีครูที่เก่งในการจัดสรรองค์ประกอบให้ผู้เรียนได้กลายเป็นนักเรียนรู้คือ มีเครื่องมือหรือทักษะจำเป็นต่อการเรียนรู้ อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาหรือสร้างองค์ความรู้สดใหม่ขึ้นมาใช้ได้ทันท่วงที ความจำเป็นในการสร้างอารยธรรมมนุษย์ยุคต่อไปจึงตกอยู่ที่มือครูนั่นเพราะ “มนุษย์เท่านั้นที่จะสอนความเป็นมนุษย์ได้” แต่ทั้งหมดนั้นครูเองจำเป็น ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด และเปลี่ยน กระบวนทัศน์ที่เป็นอยู่อย่างสิ้นเชิง
  คำนำของท่าน นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนเป้าหมายการเรียนรู้ของศิษย์จากเน้นเรียนวิชาเพื่อได้ความรู้ ให้เลยไปสู่การพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อชีวิตในยุคใหม่ย้ำว่า การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ หน้าที่ของครูเพื่อศิษย์จึงต้องเปลี่ยนจากเน้น “สอน” หรือสั่งสอนไปทำหน้าที่จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (inspire) แก่ศิษย์ ให้ศิษย์ได้เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (learning by doing) และศิษย์งอกงามทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ นี้จากการลงมือปฏิบัติของตนเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน เน้นการงอกงามทักษะในการเรียนรู้ และค้นคว้าหาความรู้มากกว่าตัวความรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากทำโดดเดี่ยวคนเดียว เป็นทำงานและเรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูเป็นทีมคือ รวมตัวกันเป็น ชร. คศ. นั่นเอง
             ขอสรุปและตั้งความหวังกับการทำหน้าที่ครูต่อไปในวันนี้และวันหน้าว่าจะพยายามหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องทำงานเป็นทีม การจัดการสาระเป็นสาระหลักและสาระรวมที่เน้นทักษะกระบวนการ การปฏิบัติโครงงานที่บูรณาการองค์รวม (ที่จริงก็ทำมาแล้วแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนที่แท้จริง)  หวังว่าครูกับชุมชนคงจะมีการทำงานที่สอดคล้องกันต่อไป เพื่อพัฒนาลูกหลานของชุมชนของท่านนะคะ

                     



กิจกรรมบทที่10


1.       ฝึกปฏิบัติวางแผนการประเมินหลักสูตรครอบคลุมกระบวนการหลักสูตรทั้งหมด

1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
 3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง

4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
 6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่ เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก

7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป

2.       ฝึกเขียนระบุเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่พึงประสงค์

แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลักสูตร
เรื่อง
    การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน.........................
***************************
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการ
ประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.2551 แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ข้อมูลด้าน ด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต

ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ü ใน       หน้าข้อความที่ตรงกับสภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ
   ชาย            หญิง
2. อายุ
   21- 30 ปี       31- 40 ปี         41- 50 ปี        51 ปีขึ้นไป
3. สถานภาพ
    ผู้บริหาร          ครู        ผู้ปกครอง

ตอนที่ 2 ข้อมูลด้าน ด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย   ในช่องระดับความคิดเห็นตามสภาพจริง โดยพิจารณา
ตามเกณฑ์ดังนี้
5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด
4 หมายถึง เห็นด้วยมาก
3 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง
2 หมายถึง เห็นด้วยน้อย
1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด

1.      ข้อมูลด้านบริบท
รายการ
ระดับความคิดเห็น

ความนำ





มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย





มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น





สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง






วิสัยทัศน์





แสดงลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในอนาคตอย่างชัดเจน





มีเป้าหมายที่ชัดเจนรองรับ





มีความสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนและสภาวะปัจจุบัน





มีเอกลักษณ์/สามารถสร้างศรัทธา/จุดประกายความคิดของ






บุคลากร





สามารถนำไปปฏิบัติได้






สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน





แสดงถึงความสามารถที่จำเป็นตามสภาวะปัจจุบัน





๑๐
สามารถนำไปวางแผนปฏิบัติต่อไปได้





เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน






คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน





๑๒
มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน/สังคม





๑๓
มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์





สามารถนำไปวางแผนปฏิบัติต่อไปได้






โครงสร้างของหลักสูตร





๑๕
มีความเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นเรียน





๑๖
จัดสัดส่วนสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551





จัดเวลาเรียนสอดคล้องและครบถ้วนตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้





๑๘
มีความเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นเรียน





๑๙
มีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชนและสังคมปัจจุบัน





สามารถทำให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาได้








2.      ข้อมูลด้านปัจจัยเบื้องต้น
รายการ
ระดับความคิดเห็น

ครูผู้สอน





มีความสามารถในการสอน





มีความรับผิดชอบในการเรียนการสอน





มีความตรงต่อเวลาและเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล





มีการตรวจสอบงานที่มอบหมายและให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสม่ำเสมอ





มีความรู้ ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา





มีความรู้ ความเข้าใจ มาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551





มีความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ





มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ





มีความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน และการทำโครงงาน





๑๐
มีความรู้ ในด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน





๑๑
มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำและใช้สื่อการเรียนรู้





๑๒
มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน






ด้านสื่อการเรียนรู้





สถานศึกษามีสื่อธรรมชาติ (พืช สัตว์ สิ่งของ และอื่น ๆ)
ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้





๑๔
สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยี และอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่เหมาะสมและ
เอื้อต่อการเรียนรู้





๑๕
สถานศึกษามีสื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้





๑๖
สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การสอนเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน





๑๗
หนังสือ/ตำรา/เอกสาร ที่ใช้ประกอบการสอนเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน





สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้





๑๙
ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้สื่อแหล่งการเรียนรู้





๒๐
สถานศึกษามีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย





๒๑
สถานศึกษามีแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน





๒๒


๒๓
สถานศึกษาจัดแหล่งการเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรู้ของผู้เรียน
แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมีความเหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้






ด้านงบประมาณ





๒๔
สถานศึกษาวางแผนการจัดสรรงบประมาณครอบคลุมภารกิจทุกด้านอย่างเหมาะสม





๒๕
สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเพียงพอ





๒๖
สถานศึกษามีงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำสื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอ





๒๗
สถานศึกษามีงบประมาณในการปรับปรุงพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อย่างเพียงพอ





สถานศึกษามีงบประมาณสนับสนุนในการปรับปรุงและ
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างเพียงพอ





สถานศึกษามีงบประมาณสนับสนุน และพัฒนาความรู้
ความสามารถของบุคลากรอย่างเพียงพอ