กิจกรรมบทที่3
1 สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
รูปแบบการบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2. บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3. บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
หลักสูตรกว้าง
มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดีรวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้านพัฒนาการ/วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1914 จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่าสถาบันสังคมและเศรษฐกิจ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2. บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3. บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
หลักสูตรกว้าง
มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดีรวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้านพัฒนาการ/วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1914 จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่าสถาบันสังคมและเศรษฐกิจ
ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503
โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันไว้ในหลักสูตรและให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้าง
ครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.
จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
2 ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีและการปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) เมือกำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลัก สูตร
แล้วพัฒนานาหลักสูตรต้องวางแผนออกแบบหลักสูตร ตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกและจัดเนื้อหาสาระการ
เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ เนื้อหาสาระที่ได้เลือกแล้ว
หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) เมือกำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลัก สูตร
แล้วพัฒนานาหลักสูตรต้องวางแผนออกแบบหลักสูตร ตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกและจัดเนื้อหาสาระการ
เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ เนื้อหาสาระที่ได้เลือกแล้ว
การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ
เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร
โดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้
ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย
บทที่1 การพัฒนาหลักสูตร นิยาม แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่2 การวางแผนหลักสูตร
บทที่3 การออกแบบหลักสูตร
บทที่4 การจัดระบบหลักสูตร
บทที่5 การประเมินหลักสูตร
ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี การขั้นตอน แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย
มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้ หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน
ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิด แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ4ภาพ) โดยประกอบด้วย4ขั้นตอนดังนี้
สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร(Curriculum Planing) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ(Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ
สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดการหลักสูตร(Curriculum Organize)ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดการหลักสูตรต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน(Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดSU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลอง ดังนี้
เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆว่าโลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัมนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้(Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน(Learner) และมุมล่างด้านขวามือ แสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม(Society)
ในพื้นที่วงกลมยังระบุพื้นฐาน3ด้าน ประกอบด้วย ปรัชญา จิตวิทยาและสังคม ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1) การวางแผนหลักสูตร(Curriculum planing)
2) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
3) การจัดดการหลักสูตร (Curriculum Organize)
4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
กล่าวโดยสรุป หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยสารประโยชน์ทางการศึกษา อันเป็นผลดีต่อผู้สนใจในการสืบค้นข้อมูลและความเข้าใจในรูปแบบจำลอง อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร จวบจนการสรุปและประเมินผล อันเป็นผลพวงที่ดีต่อความก้าวหน้าของวงการการศึกษาของไทย
อ้างอิงงจาก:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น